ประเพณีต่างๆของจีน

ประเพณีจีน เป็นเทศกาลที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันเป็นจุดกำเนิดของชาวจีน ร่วมค้นหาประวัติความเป็นมา และความหมายที่ซ่อนเร้นไว้ในประเพณีต่างๆ ตำนาน ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ประวัติศาสตร์อารยธรรมเก่าแก่อันล้ำค่าของจีนยุคโบราณ บอกกล่าวผ่านงานศิลปะแขนงต่างๆ ให้โลกได้รับรู้….

 

ประเพณีแต่งงานแบบจีน
สิ่งสำคัญของการแต่งงานแบบจีนไม่ใช่เรื่องของการเตรียมสิ่งของให้พร้อม แต่อยู่ที่การให้เกียรติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย มากกว่าควรถามญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายว่าอยากเห็นอะไรในธรรมเนียมจีนสิ่งไหนที่อยากให้ทำเพื่อความสบายใจบ้าง ถ้าฝ่ายหญิงมีอาม่า มักมีธรรมเนียมค่าน้ำนมข้าวป้อนหรืออั่งเปาน้ำนม เพราะเคยช่วยเลี้ยงหลานคนนี้มา หรือท่านอยากเห็นเอี๊ยมแดงก็จัดให้ท่าน สิ่งที่อาม่าเคยเห็นและฝังใจว่าดี ถ้าอีกฝ่ายไม่ทำตามนั้นอาม่าอาจเกิดความรู้สึกอคติกับอีกฝ่ายก็ได้ เพราะการที่คนสองคนแต่งงานกันไม่ได้แต่งแค่สองคน แต่เป็นการรวมสองครอบครัวเข้าด้วยกันยิ่งถ้าวิถีชีวิตของจีนถูกสอนให้ผูกพันและกตัญญูกับผู้ใหญ่อะไรที่ทำแล้วท่านไม่ชอบก็เลี่ยงไปดีกว่า




เทศกาลหยวนเซียว (โคมไฟ)
เทศกาลหยวนเซียวซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลสำคัญของจีนนี้ ได้มีมากกว่า 2,000 ปี โดยตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน จะนับเอาวันที่พระอาทิตย์ โลกและพระจันทร์มาอยู่ในระนาบเดียวกันเป็นวันแรกของปี หรือขึ้นหนึ่ง 1 ค่ำเดือนอ้าย ซึ่งในสมัยโบราณจะเรียกเดือนอ้ายว่า “หยวน” (元) ส่วนคำว่า“เซียว”(宵) หมายถึงกลางคืน เทศกาล เทศกาลนี้จึงหมายถึงคืนที่พระจันทร์เต็มดวงเป็นครั้งแรกของปี (วันตรุษจีนคือวันปีใหม่ของจีน)

ประเพณีการไหว้เจ้า
“การไหว้เจ้า” เป็นประเพณีที่ชาวจีนประพฤติ ปฏิบัติสืบต่อกันมากว่า 3,000 ปี (สมัยราชวงศ์โจว) เพื่อให้เกิดความสิริมงคล และนำมาซึ่งความสุขความเจริญรุ่งเรืองแก่ตนเองและครอบครัว ทั้งกิจการงาน ธุรกิจที่ประกอบอยู่ ชาวจีนจึงมีความเชื่อสืบต่อๆ กันมาว่าในปีหนึ่งๆ มักจะมีสิ่งเลวร้าย เรื่องไม่ดีงาม เรื่องอัปมงคลมากระทบกระทั่ง หรือรบกวนการดำเนินชีวิตของคนเราจนทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย การงานติดขัดไม่ราบรื่น เงินทองไม่คล่อง ทำอะไรก็พบแต่ความยุ่งยาก ค้าขายลำบากมีแต่อุปสรรคบุตรบริวารก่อเรื่องวุ่นวาย นำความยุ่งยากลำบากใจมาให้ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผิดปกติ ทำให้รู้ได้ว่า “ดวงชะตาชีวิต” ไม่ดีนักจึงจะต้องมีการขวนขวายหาที่พึ่ง จึงทำให้ก่อกำเนิดประเพณี การไหว้เจ้าไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ไหว้บรรพบุรุษขึ้น

ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ
และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ (正月 พินอิน: zhèng yuè เจิ้งเยฺว่) และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ (ตัวเต็ม: 元宵節, ตัวย่อ: 元宵节, พินอิน: yuán xiāo jié หยวนเซียวเจี๋ย)

ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย

การกินเจ 

                เทศกาลกินเจ จริงๆแล้วเป็นช่วงเวลาแห่งการไว้ทุกข์ 10 วัน แด่ คน 9 คน ซึ่งเป็นชาวฮั่นที่ได้ทำการปฏิวัติต่อต้านพวกแมนจูแต่ไม่สำเร็จจึงถูกประหารชีวิตโดยการตัดคอและโยนลงสู่แม่น้ำหลังจากนั้น ก็มีเจ้ามารับวิญญาณทั้ง 9 ไป ชาวจีนจึงยกย่องให้ชายทั้ง 9 เป็นเจ้าแห่งเทศกาลกินเจ เมื่อถึงเทศกาลกินเจ ก็คือการไว้ทุกข์ให้บุคคลทั้ง 9 คน ซึ่งเราเรียกกันว่า เจ้า วันกินเจก็จะไม่ตรงกันทุกปีถ้าจะดูจากปฏิทินของไทย แต่ถ้านับจากปฏิทินจีน 1 เดือนก็จะมี 29 – 30 วัน จะไม่มีวันที่31วันกินเจ วันแรกจะตรงกับวันสุดท้ายของเดือนที่แปดนับจากปฏิทินจีนถ้าดูจากปฏิทินจีนเทศกาลกินเจก็จะตรงกันทุกปี

ประเพณีการกินเจกำหนดเอาวันตามจันทรคติ คือเริ่มต้นตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ ถึง ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีนทุกๆ ปี รวม 9 วัน 9 คืน มีจุดเริ่มต้นจากประเทศจีนมานานแล้ว โดยมีตำนานเล่าขานกันหลายตำนาน

เทศกาลไหว้พระจันทร์ 
เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า “จงชิว” (Zhong Qiu) แปลว่า “กลางฤดูใบไม้ร่วง” เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้เทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนโดยปกติจะมีขึ้นในวันที่ 15 (วันเพ็ญ) เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วงนี้จัดให้มีขึ้นเพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงไม่เป็นที่ ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วูแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระ จันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้ แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้ง ประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่นเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เหล่านี้แล้ว ก็ยังมีนิทานและตำนานอีกหลายเรื่อง หนึ่งในจำนวนนี้ก็คือเรื่องเกี่ยวกับนางเสี้ยงหงอ (บ้างก็เรียกฉางเอ๋อ) ซึ่งเป็นหญิงที่มีความงดงามมาก นางเป็นภรรยาของขุนนางจีนท่านหนึ่ง หลังจากที่นางทานยาวิเศษเข้าไป นางก็เหาะขึ้นไปอยู่บนพระจันทร์ภายหลังนางกลายเป็นอมตะหลังจากที่ได้ดื่มน้ำ อมฤตของเทพธิดาองค์หนึ่งบนสวรรค์ กล่าวกันว่านางจันทรเทพธิดาเสี้ยงหงอมีน้ำใจเมตตาเอื้ออารีมาก พอถึงฤดูกาลเพาะปลูกนางก็จะประพรมน้ำอมฤตลงมาบนพื้นโลกและนี่ก็นำมาซึ่งความ เจริญรุ่งเรืองแก่ชาวไร่ชาวนาทั้งมวล เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูต่อนางจันทรเทพธิดาชาวนาจึงทำขนมโก๋จากแป้งข้าว เจ้าเพื่อสักการะนางในคืนวันเพ็ญเดือน 8 เนื่องจากว่าโดยปกติประเพณีต่าง ๆ ของชาวจีนจะเกี่ยวของกับการทำอาหารพิเศษ ๆ เพื่อเป็นเครื่องสักการะในวันนั้น แต่ว่าอาหารจีนที่ทำขึ้นในวันไหว้พระจันทร์นี้ไม่ใช่ขนมเค้กอย่างเช่นของ ชาวตะวันตกตามที่เข้าใจกัน ในประเทศไทย ศิลปะการทำขนมเค้กแบบชาวจีนนี้ถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวจีนอพยพมากกว่า 100 ปีมาแล้ว ขนมไหว้พระจันทร์ของจีนแต่เดิมนั้นมีส่วนประกอบ เช่น ถั่วแดง ลูกนัทจีน 5 ชนิด และ เมล็ดบัว เป็นต้น ในประเทศไทยก็มีส่วนประกอบที่แตกต่างออกไป เช่น การรวมเอาทุเรียน ลูกเกาลัดและลูกพลับเข้าไว้ด้วย เครื่องปรุงที่เพิ่มเข้ามาก็อาจจะรวมเอาเมล็ดบัว ไข่แดงเค็ม และเมล็ดแตงโมด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า โดยปกติแล้วพิธีนี้จะให้สตรีเป็นผู้ทำเพราะว่าคนเชื่อกันว่าพระจันทร์มีส่วน เกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับเทพเจ้าสตรีเรื่อยมา ดังนั้น จึงมีการบูชาด้วยแป้งและเครื่องสำอางด้วยเพราะหวังว่าการทำเช่นนี้จะนำมา ซึ่งความสวยงามและผิวงามแก่สมาชิกในครอบครัวที่เป็นจริงทั้งหมด ไม่ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลขนาดไหนก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่มีผลกระทบต่อความเชื่อตามประเพณี และพิธีที่สืบทอดกันมาชั่วลูกชั่วหลานของชาวจีนแต่ประการใด

เทศกาลวันไหว้ขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง)
เทศกาลวันไหว้ขนมจ้าง (บ๊ะจ่าง) หรือ เทศกาลตวนอู่เจี๋ย (จีน: 端午节) หรือ เทศกาลตวงโหงว ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ หรือ “โหงวเหว่ยโจ่ว” เป็นการระลึกถึงวันที่ คุกง้วน
หรือ ชีว์หยวน หรือ ชีหยวน (จีน: 屈原, Qu Yuan (340-278 ปีก่อนคริสต์ศักราช) กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต

นอกจากนี้ ในประเทศจีน บริเวณแม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง), ฮ่องกง, ไต้หวัน, มาเก๊า ยังมีการละเล่น แข่งเรือมังกร (Dragon Boat Festival 龙舟赛) จัดอย่างยิ่งใหญ่ในวันนี้ด้วย ทางรัฐบาลจีน
ยังกำหนดให้วันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5 นี้เป็น วันกวีจีน (The Chinese Poet’s Day) อีกด้วย เนื่องจากชีหยวน นับเป็นอีกผู้หนึ่งที่เป็นกวีคนสำคัญของจีน
                บ๊ะจ่างเป็นขนมหรืออาหารชนิดหนึ่งของจีน ทำด้วยข้าวเหนียว แล้วใช้ใบไผ่ห่อเป็นรูปทรงกรวยหรือรูปสามเหลี่ยมแล้วใช้เชือกเส้นเล็ก ๆ มัด เมื่อห่อเสร็จแล้ว ก็นำไปต้มให้สุก แล้วรับประทาน มีทั้งแบบใส่เครื่อง และไม่ใส่เครื่อง

 

 

 

ที่มา : https://sites.google.com/site/ppon1123/ma-rucak-prathes-cin-kan/prapheni-tang-khxng-cin

Leave a Reply